ค้นหาบล็อกนี้

มารู้จักอาหารฟาสต์ฟูดกันเถอะ

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เคล็ด (ไม่) ลับ กินฟาสต์ฟู้ด อย่างไรให้เสียสุขภาพน้อยที่สุด






           สถานการณ์ที่เร่งรีบในแต่ละวันทำให้อาหารฟาสต์ฟู้ดเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และเป็นที่นิยมมากสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆ เพราะเป็นอาหารจานด่วนที่หาง่าย กินง่าย ไม่แพง และมีรสชาติอร่อย ทำให้ประหยัดทั้งเงิน ทั้งเวลา แต่สิ่งที่จะได้รับจากความอร่อย คือ ผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตวาย โรคมะเร็งลำไส้ และอีกหลายโรคตามมา แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ หรือใจมันเรียกร้องอยากจะกินให้ได้ เราก็มีเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้การ กินฟาสต์ฟู้ด มีคุณค่าทางโภชนาการและเสียสุขภาพน้อยที่สุด
    1.ทำพิซซ่ากินเองดีต่อสุขภาพ


https://www.google.co.th/search?q=พิซซ่าต่อสุขภาพ&tbm

           เพราะพิซซ่ามีส่วนประกอบของอะคริลิไมท์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและทำลายประสาท เป็นสารเคมีที่เกิดจากการทอดหรือการอบอาหารที่นานเกินไป ยิ่งทำให้ขนมปังเกรียมเท่าไร สารอะคริลิไมท์ก็มากขึ้นเท่านั้น และในพิซซ่าก็ยังมีสารกันบูดต่างๆ อีกมากมาย ที่ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงง่ายๆ การทำพิซซ่ากินเองเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสายเฮลตี้ที่อยากกินอาหารฟาสต์ฟู้ดแต่กลัวเสียสุขภาพ เพราะเราได้เลือกวัตถุดิบในการทำเอง แนะนำให้ใช้แป้งโฮลเกรน ตัดวัตถุดิบที่มีไขมันสูงออกไป อาจใส่ผักที่ชอบ เห็ด สับปะรด และมะเขือเทศ ซึ่งดีกว่าการกินแป้งเพียงอย่างเดียวแน่นอน ถ้าต้องซื้อกิน ก็ควรเลือกเมนูที่มีชีสน้อยๆ หรือ พิซซ่าอิตาเลี่ยนดั้งเดิมที่เป็นแป้งบางกรอบ และให้กินสลัดผักร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับวิตามินและใยอาหารเพิ่ม ที่สำคัญคือไม่ควรคิดว่าการเพิ่มเงินไม่กี่บาทก็ได้ไซต์ใหญ่กว่าเดิม เพราะการคิดแบบนี้จะทำให้เรากินเยอะขึ้น สิ่งที่เพิ่มขึ้นจะไม่ใช่แค่ขนาดของพิซซ่าเท่านั้น แต่ยังเป็นน้ำหนักตัวของเราด้วย


2.เบอร์เกอร์แคลอรี่ต่ำ



www.google.co.th/search?dcr=0&biw=1600&bih=720&tbm=isch&sa=1&q=เบอร์เกอร์แคลอรี่ต่ำ&oq

         เชื่อกันว่าเนื้อที่ใช้ในการทำเบอร์เกอร์มักเป็นเศษเนื้อเหลือๆ ที่ไม่มีคุณภาพ ส่วนผักก็มักจะเต็มไปด้วยยาฆ่าแมลง แถมยังมีการใช้สารเคมีมากำจัดเนื้อที่กำลังจะเน่าเสีย และใส่สารปรุงรส ที่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้อ้วนขึ้นอีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าการกินเบอร์เกอร์จะไม่ดีต่อสุขภาพของเราไปเสียทีเดียว เพราะเราสามารถทำกินเองได้ง่ายๆ เป็นเบอร์เกอร์แคลอรี่ต่ำ แบบเสียสุขภาพน้อยที่สุด โดยใช้วัตถุดิบที่ไขมันต่ำ เช่น ขนมปังโฮลวีท มัสตาร์ดไขมันต่ำ ในส่วนของเนื้อ ควรเป็นเนื้อย่าง และควรเป็นเนื้อไร้มัน อาจใช้วัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรด้วยยิ่งดี เพราะนอกจากสมุนไพรจะมีประโยชน์ทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหารอีกด้วย


3.จำกัดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม



ที่มาwww.google.co.th/search?dcr=0&biw=1600&bih=769&tbm=isch&sa=1&q=จำกัดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม&oq=

        ไม่แปลกที่คนชอบกินน้ำอัดลมจะประสบปัญหากับความอ้วนและฟันผุ เพราะในน้ำอัดลมมีทั้งน้ำตาลและกรดกำมะถัน เมื่อกินเข้าไปมากๆ จะทำให้น้ำหนักลดลงยาก ส่วนโซดาที่มีอยู่ในน้ำอัดลมก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนอีกด้วย ถึงแม้น้ำอัดลมจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคมายมายแต่เราก็ยังอยากกินกันอยู่ดี บางคนถึงกับขาดไม่ได้ต้องมีติดตู้เย็นอยู่ตลอด เรียกได้ว่าทุกมื้ออาหารจะต้องมีน้ำอัดลมรวมอยู่ด้วย ในเมื่อเรายังต้องกินก็ควรกินแบบพอดีๆ หลายคนห้ามใจตัวเองไม่ได้ ยิ่งได้ยินคำว่ารีฟิลน้ำอัดลม ยิ่งทำให้อยากกินเข้าไปอีก เพราะคิดว่ามันคุ้มค่า แต่นั่นยิ่งทำให้เราได้รับน้ำตาลมากจนเกินไป ดังนั้น “ห้ามรีฟิลเด็ดขาด” ควรจำกัดการกินน้ำอัดลมให้เป็นนิสัย เพื่อเป็นการจำกัดน้ำตาลไม่ให้มีมากเกินปริมาณที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน จำไว้ว่าอย่าเอาความคุ้มมาใช้ในการกินน้ำอัดลม เพราะสิ่งที่เราจะได้รับหลังจากที่กินเข้าไป มันไม่คุ้มเอาเสียเลย

4.ไก่ทอดธัญพืช


ที่มาwww.google.co.th/search?dcr=0&biw=1600&bih=720&tbm=isch&sa=1&q=ไก่ทอดธัญพืช&oq

           ไก่ทอดกรอบ ส่งกลิ่นหอม แถมรสชาติก็อร่อย ใครจะรู้ว่าความกรอบและอร่อยของมันคือตัวการสำคัญที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา เพราะในไก่ทอดมีแป้งขนมปังผสมอยู่ แถมยังมีสารปรุงรส รวมไปถึงสารอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสมองอีกด้วย แต่จะให้เลิกกันไปเลยก็คงไม่ใช่ เพราะไก่ทอดนับว่าเป็นอาหารสุดโปรดของใครหลายคน โดยเฉพาะเด็กๆ การกินของทอดยังไงก็ต้องอันตรายอยู่แล้ว แต่เพื่อเป็นการไม่เสียสุขภาพไปมากกว่านี้ เราควรเพิ่มสารอาหารให้กับตัวเองโดยเปลี่ยนจากการชุบเกล็ดขนมปังมาเป็นชุบธัญพืชแทน เลือกเนื้อไก่ส่วนที่มีไขมันน้อยๆ อย่างส่วนอก เติมนมลงไปผสมเพื่อเป็นการเพิ่มโปรตีน สิ่งสำคัญคือ เพิ่มความพิถีพิถันในการทอด เพื่อไม่ให้ไก่เกรียมจนเกินไป และห้ามใช้น้ำมันทอดซ้ำกันหลายๆ ครั้งเด็ดขาด

5.เฟรนช์ฟรายส์อบ


www.google.co.th/search?q=เฟรนช์ฟรายส์อบ&tbm

            เฟรนช์ฟรายส์ทำมาจากมันฝรั่งซึ่งมันเป็นผักก็จริง แต่คุณค่าทางอาหารต่ำ ยิ่งนำเอามาทอดด้วยแล้ว ยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เพราะเมื่อถูกทอดในน้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ก็แทบจะไม่เหลือสารอาหารที่เป็นประโยชน์อะไรเลย แถมยังเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และโรคไตอีกด้วย แต่ถึงรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ยังอดใจไม่ไหวที่จะต้องรีบไปซื้อทุกครั้งเมื่อมันลดราคา การควบคุมการทอดและการใช้น้ำมันนั้น ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ชอบกินของทอดจนขาดไม่ได้ แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเรานำเฟรนช์ฟรายส์ไปอบแทนการทอด เพราะนอกจากจะได้รสชาติความอร่อยที่ไม่แพ้การทอดแล้ว ยังไม่ต้องมากังวลเรื่องอันตรายจากน้ำมันอีกด้วย

          อาหารฟาสต์ฟู้ดมีปริมาณโซเดียมที่สูงมาก จึงมักมีรสชาติเค็ม แม้โซเดียมจะเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และควบคุมความสมดุลของร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจได้ อาหารประเภทนี้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่มากนัก บางชนิดก็ให้พลังงานที่มากเกินความจำเป็น ยิ่งกินมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ร่างกายขาดความสมดุลมากเท่านั้น อาหารทุกชนิดมักจะให้ทั้งคุณและโทษในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินของเรา ดังนั้นเราควรกินอย่างพอดี และควรเผาผลาญพลังงาน ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเพิ่มความสมดุลให้ร่างกาย และเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ของเรา


ที่มาของข้อมูล http://www.goodlifeupdate.com/69067/variety/fastfood/2/


ตัวอย่างอาหารฟาสต์ฟูด

ตัวอย่างอาหารฟาสต์ฟูด



1)เฟรนช์ฟราย



(ที่มา : :https://www.wongnai.com/restaurants/147889et-cafe-in-foods-coffee bakery/photos/b8397076787a4b9fb11aee8c369def63)

               เฟรนช์ฟราย คือ มันฝรั่งทอดแบบแท่ง ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมสูงในอเมริกา ในขณะเดียวกันในบ้านเราก็พบเฟรนช์ฟรายได้ทั่วไป บ้างก็เสิร์ฟมาพร้อมกับอาหารจานด่วน บ้างก็มีในอาหารฝรั่ง และบ้างก็กลายเป็นของกินเล่น ทุกวันนี้ไม่เพียงเฟรนช์ฟรายใส่เกลือป่นให้มีรสเค็มเท่านั้นแต่ได้พัฒนารสชาติให้แตกต่างจากเดิมด้วยการใช้สารปรุงแต่งรสอาหารจนกลายเป็นเฟรนช์ฟรายรสบาร์บีคิว รสไก่ รสปาปริก้า เป็นต้น
             เฟรนช์ฟรายเป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง โดยเฟรนช์ฟรายขนาดเล็กที่ขายกันทั่วไปซึ่งน้ำหนักราว 70 กรัมนั้นให้พลังงานราว 230 kcal ขณะที่ขนาดใหญ่ให้พลังงานกว่า 400 kcalขึ้นไปตามแต่ขนาดการเสิร์ฟของแต่ละที่

2)ข้าวราดแกง


ข้าวราดแกงเขียวหวานไก่ ( ที่มา : http://www.hescosolution.com/product.php?cid=3

             ในยุคที่คนเราให้เวลากับการทำมาหากินมากกว่าเวลาทำกินกับข้าวถุงหรือข้าวราดแกงเป็นทางเลือกที่ทำให้ชีวิตครอบครัวมีรูปแบบที่ที่ใกล้เคียงกับวิถีดั้งเดิมที่สุด มีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่หุงข้าวกินเองแล้วซื้อกับข้าวถุง 2-3 อย่างมารับประทานเป็นสำรับร่วมกัน ข้อดีของการซื้อกับข้าวถุงนั้นชัดเจน นอกจากจะประหยัดเวลาแล้วบางครั้งอาจช่วยประหยัดเงินด้วย เพราะไม่ต้องซื้อของจุกจิกหลายอย่าง เข้าทำนองคุมต้นทุนได้ ในแง่ของสุขภาพนั้นคือการกินเป็นสำรับย่อมได้ความหลากหลายของคุณค่าอาหารยิ่งขึ้น หากเลือกอาหารได้อย่างเหมาะสม

วามเสี่ยงที่พบได้
            ความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ clostridium perfringens , salmonella ,E.coli และ campylobacter หรือโซเดียม จะได้รับในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายควรได้

3)ข้าวมันไก่


(ที่มา : http://www.hescosolution.com/product.php?cid=3)

        ข้าวมันไก่เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง โดยข้าวมันไก่1 จาน ขนาดมาตรฐานที่ขายตามร้านขายข้าวมันไก่ส่วนใหญ่ มักใช้ถ้วยใส่ซุปเป็นที่ตวง ซึ่งซุปนี้จะให้พลังงานราว 600 แคลอรี่ ซึ่งเป็นพลังงานจากไขมันเสียส่วนมาก และไม่ว่าจะเป็นไขมันที่อยู่ในข้าวหรือไขมันที่มาจากไขมันจากหนังไก่ต้มหรือไก่ทอดย่อมให้ไขมันที่สูงเป็นธรรมดา ซึ่งหากเป็นข้าวมันไก่ตอนก็จะยิ่งให้พลังงานสูงกว่านี้ เพราะในเนื้อไก่ตอนจะมีเปอร์เซ็นต์ของไขมันสูงกว่าในไก่ธรรมดา

ความเสี่ยงที่พบ
-  เสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง เพราะไขมันที่นำมาหุงข้าวมันไก่นั้นเป็นไขมันที่มาจากหนังและมันของไก่ เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว ทำให้เสี่ยงต่อการการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดอยู่ดี
- อันตรายจากโรคทางเดินอาหาร เพราะข้าวมันไก่เป็นอาหารอีกชนิดที่มีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์สูง แม้ว่าจะผ่านการปรุงสุกแล้วก็ตาม ซึ่งไก่ต้มตัวสุดท้ายที่ไว้รอขายถูกแขวนไว้นาน 8-9 ชม.จนกว่าจะปิดร้าน แบคทีเรียที่ตรวจพบคือ S.aureus , C.perfringens,Salmonella นอกจากนี้ยังพบเชื้อ E.coli
-  กินบ่อยเสี่ยงโรคเกาต์

4)ข้าวปั้น-ข้าวห่อสาหร่าย


(ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=9rdIwh8pAO4)

           ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทีไหนก็มีขายอาหารสายพันธุ์ปลาดิบพวกนี้ เรียกว่าไม่เฉพาะแค่ในห้าง แม้แต่ตามข้างทางเท้า หน้าสะพานลอย หรือ แม้แต่ตลาดนัด ก็มีข้าวปั้น ข้าวห่อสาหร่ายให้กินกัน เพราะทำง่าย ส่วนประกอบมีเพียงข้าวสาหร่ายทะเลและไส้ ส่วนใหญ่ผู้ขายจะทำมาแบบสำเร็จรูปเป็นจำนวนมากๆแล้ววางใส่ถาดเรียงไว้

ความเสี่ยงที่พบ
         พบเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษปนเปื้อนมากับข้าวปั้นและข้าวห่อสาหร่าย เพราะทำล่วงหน้าเป็นเวลานานโดยที่คนทำไม่ได้ระวังเรื่องความสะอาดของมือหรือภาชนะที่ใส่อาหาร โดยเชื้อที่พบได้คือ Staphylococcus aureus และ Clostridium perfringens มักพบในเนื้อสัตว์พบในเนื้อที่ผ่านการทำให้สุกแต่ทิ้งไว้ให้เย็นโดยไม่ได้อุ่นซ้ำ



วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิธีการหลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟูด

วิธีการหลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟูด



     ทัทยา อนุสสร(2556)ได้กล่าวว่าการรู้จักเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวัน ถือเป็นหลักในการห้องกันโรคที่ดี ซึ่งต้องเริ่มจากการมีวินัยในการเลือกรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม ลดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดยมีแนวทางดังนี้

1.กินอาหารหลากหลาย

       เนื่องจากในอาหารแต่ละชนิดมีองค์ประกอบของสารอาหาร และปริมาณที่ต่างกันตามหมวดหมู่ของอาหาร การกินอาหารชนิดเดียวกันทุกๆวันจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินมังสวิรัติ มักมีแนวโน้มที่จะขาดโปรตีน วิตามินบี แคลเซียม และธาตุเหล็กได้ง่าย จึงจำเป็นต้องรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ และถั่วตามปริมาณที่เหมาะสมกับตัวและวัย



2.คุมปริมาณพลังงานและสัดส่วนสารอาหารในแต่ละวัน

     ควรเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่ให้พลังงานต่ำ โดยสังเกตฉลากแสดงปริมาณสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบในอาหารนั้นๆ จะทำให้เข้าใจและสามารถกำหนดสัดส่วนการกินในแต่ละมื้อได้ดีขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว 50% ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน ควรมาจากอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต แต่ควรเน้นการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว และธัญพืชชนิดต่างๆ อาหารกลุ่มโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่างๆ ควรกินประมาณ 15% ส่วนที่เหลือ 35% มาจากไขมันชนิดดี หรือไขมันที่ไม่อิ่มตัว




3.เน้นการกินพืชผักและผลไม้เป็นหลัก

       การเพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหาร และกินเป็นประจำ เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่ และสารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และช่วยนำโคเลสเตอรอลและสารก่อมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของสารก่อมะเร็งบางชนิดและมีกากใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยให้กระบวนการต่างๆในร่างกายดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   อาหารจำพวกธัญพืช ผัก และผลไม้ นอกจากจะเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีคุณค่าแล้ว ยังเป็นกลุ่มอาหารที่มีไขมันต่ำมาก แต่ทำให้อิ่มนานเพราะมีใยอาหารปริมาณสูง 



4.เลือกกินแต่ไขมันชั้นดี

    ไขมันเป็นสารอาหารที่ได้จากพืชและสัตว์ โดยหน้าที่ของไขมันคือเป็นแหล่งพลังงานสูง สร้างความอบอุ่น ช่วยการทำงานของสมอง และเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนต่างๆ ช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและระบบสืบพันธุ์ แต่ถ้าหากร่างกายได้รับในปริมาณมากเกินความต้องการ อาจก่อให้เกิดผลเสียต่างๆตามมาอีกมากมาย

    ไขมันที่ดีคือไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งมีมากในน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย และปลาทะเล ฯลฯ ส่วนไขมันชนิดเลว คือ ไขมันอิ่มตัว จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น และอาจไปสะสมอุดตันในเส้นเลือด น้ำมันชนิดนี้มักพบในน้ำมันปาล์ม ไขมันจากสัตว์ และนม



5.ลดการบริโภคน้ำตาล

      อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งได้แก่แป้งและน้ำตาล เมื่อเข้าสู่ร่างกายและผ่านกระบวนการย่อยจะได้กลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง กลูโคสเป็นสารที่ให้

       พลังงานแก่ร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับมากเกินไป จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้การมีน้ำตาลอยู่ในร่างกายปริมาณสูงจะส่งผลให้การสร้างอินซูลินที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเสียสมดุลไป เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงขนมหวานหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน การเลือกกินข้าวกล้องที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะทำให้ร่างกายค่อยๆสลายกลูโคสออกมาอย่างช้าๆ จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้




6.เลี่ยงรสเค็ม

   อาหารทั่วไปเกือบทุกชนิด เช่น ซอสปรุงรส น้ำปลา ขนมกรุบกรอบ อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป และอาหารที่มีรสเค็มทุกชนิด มักมีเกลือโซเดียมเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง ซึ่งจะทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย แม้ว่าโซเดียมจะมีประโยชน์ช่วยควบคุมปริมาณน้ำและความดันเลือด แต่การได้รับโซเดียมมากเกินไปจะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้




ประโยชน์และโทษของอาหารฟาสต์ฟู้ด

ประโยชน์และโทษของอาหารฟาสต์ฟู้ด



ประโยชน์ของอาหารฟาสต์ฟูด (Fast Food)


1. ช่วยประหยัดเวลา แน่นอนว่าเวลารีบ ๆ ฟาสต์ฟู้ดถือเป็นตัวเลือกอันดับแรก ๆ ของใครหลาย ๆ คน เพราะสะดวกทันใจแถมยังอร่อยสุด ๆ เหมาะกับการใช้ชีวิตที่รีบร้อนของสังคมสมัยนี้ เพราะแบบนี้หลายคนจึงเต็มใจจะโทรสั่งแฮมเบอร์เกอร์หรือพิซซ่ามานั่งกินไปทำงานไปที่โต๊ะกันเยอะแยะ
2. เลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบ จุดเด่นของฟาสต์ฟู้ดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่เลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบนี่แหละ เช่น ถ้าคุณทำพิซซ่าทานเอง คุณอยากจะใส่เครื่องอะไรโรยหน้าก็ได้ตามใจชอบ ยิ่งไปกว่านั้น เดี๋ยวนี้ต่อให้ไม่ทำอาหารเองที่บ้าน บางร้านก็มีบริการให้คุณเลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบเช่นกัน
3. แบบที่มีประโยชน์กับร่างกายก็มีเช่นกัน จากการที่ทุกวันนี้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ก็เลยทำให้ร้านต่าง ๆ หันมาเพิ่มตัวเลือกในการทานฟาสต์ฟู้ดแบบเพื่อสุขภาพคอยเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย ซึ่งถ้าใครอยากดูแลตัวเองและอร่อยกับฟาสต์ฟู้ดด้วยในเวลาเดียวกัน ก็ควรเปลี่ยนมาเลือกใส่เครื่องปรุงที่ดีมีประโยชน์กับร่างกายของคุณมากขึ้น เช่น ใช้ขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาวจะดีกว่า
4. ราคาประหยัด อาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าพวกอาหารทั่วไปอยู่แล้ว (บางประเภท) เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับคนที่ต้องการจะเก็บเงินเป็นพิเศษ และเพราะแบบนี้เองร้านฟาสต์ฟูดถึงมีคนต่อคิวอยู่เสมอเพื่อให้ได้กินอาหารที่ทั้งอร่อยทั้งประหยัด


โทษของ Fast food

ปัจจุบันสภาวะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา ประกอบกับการมีค่านิยมในการบริโภคอาหารแบบตะวันตก เช่น พิซซ่า แซนด์วิช มันฝรั่งทอด ไก่ทอด เป็นต้น จึงทำให้ได้รับไขมันจากสัตว์ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง(อาณัติ วินิทร, 2555: 33) เนื่องจาก Fast food เป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฮอทดอก พิซซ่า โดนัท น้ำอัดลม ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ที่ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้วยแป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือ ไม่ค่อยมีวิตามิน และใยอาหาร ซึ่งส่วนประกอบในอาหาร Fast food นี่แหละที่ส่งผลกับร่างกายเรา

•ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) : อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด มักจะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เนื่องจากว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูกนั่นเอง แถมยังสามารถทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดีอีกด้วย การทานอาหาร Fast food เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ากินบ่อยเกินไปอาจมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย
• เกลือ (Salt;Sodium) : โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยใน 1 วัน แต่อาหารประเภท Fast food จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมใสสัดส่วนที่สูงมาก. ถ้ารับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มิลลิกรัม
• น้ำตาล (Sugar) : น้ำอัดลม ลูกอม โดนัท จะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราบริโภคเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน
• คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) : เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายก็จริง แต่หากเรากินเข้าไปมากเกินความต้องการใน 1 มื้อ ส่วนที่เหลือใช้ก็จะเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วโรคอ้วนก็จะถามหา คราวนี้เราก็รู้แล้วว่าทำไมอาหาร Fast food จึงไม่ให้ประโยชน์แถมบางทีจะก่อโทษกับร่างกายเราด้วยซ้ำ


โรคที่เกิดจากการกิน Fast food

-โรคอ้วน

ภาพที่12 (ที่มา : https://woranoot.files.wordpress.com/2015/02/108_20131116175841.jpg)

(อาณัติ วินิทร, 2555: 166) กล่าวถึงโรคอ้วนว่า เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้มีการสะสมของไขมันภายในร่างกายเกินความจำเป็น คนที่เป็นโรคอ้วนอาจมีอาการอื่นๆจามมา เช่น สภาพจิตใจไม่ปกติ ความต้านทานโรคต่ำ ติดโรคง่าย เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และใครจะไปรู้ภายในเรือนร่างที่ฉาบทาด้วยความอุดมสมบูรณ์ ตามความคิดผู้ที่ไม่รู้ แต่โรคผู้มีอันจะกินนี้มักจะรวบรวมพรรคพวกไว้มากมาย ล้วนแต่โรคเด็ดๆทั้งนั้น เช่น
1. ไขมันในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติของระบบอื่นๆโดยเฉพาะเมื่อเจ้าเม็ดไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดยิ่งหน้ามากขึ้นๆถนนของเจ้าเลือดก็จะเดินไม่สะดวกตามไป ก็เลือดต้องไปเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกายและเราก็ขาดเลือดไม่ได้ แน่นอนจะมีปัญหาต่อสุขภาพตามมาอีกมากมาย ทั้งโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ มึนงงบ่อยๆเป็นลม เมื่อเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่ดี เซลล์ก็เสื่อมโทรมลง อนุมูลอิสระก็เกิดเร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้แก่เร็ว
2. ความดันโลหิตสูง เมื่อไขมันเคลือบผนังหลอดเลือดบางจุดอาจตีบมากขึ้น หัวใจมีหน้าที่เหมือนปั๊มน้ำ ก็ต้องขับดันเลือดวิ่งไปให้ทั่วร่างกายทุกซอกทุกมุม เมื่อบางจุดโดนบีบให้แคบแต่ร่างกายต้องการเลือด มันอาจออกแรงผลักดันเลือด อาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ถึงแก่ชีวิตหรือพิการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
3.โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศอุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หัวใจทำงานเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหัวใจวาย
4. โรคข้อกระดูกเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้าเนื่องจากต้องรับน้ำหยักตัวที่มากขึ้น บางคนที่อ้วนมากๆอาจจะยืนหรือเดินไม่ได้เลย เพราะข้อเท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ คนอ้วนมากๆจะเดินก็ลำบาก โยกเยกซ้ายขวา เดินไปเหนื่อยหอบไป
6. โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ชอบนั่งหรือนอน ปอดจึงขยายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจ บางครั้งถึงกับมีภาวะกายหายใจลดลง หายใจติดขัด ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด เหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา อาจพบภาวะอารมณ์เศร้าหมองร่วมไปด้วย
7. โรคมะเร็งบางชนิด คนอ้วนมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆรวมทั้งโรคมะเร็งได้
8. โรคนิ่วในถุงน้ำดี และไนมันแทรกในตับ เมื่อมีไขมันมากการทำงานของตับก็ลดลง เพราะไขมันเข้าไปแทรกอยู่ จนทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี



วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อาหารฟาสต์ฟูดในประเทศไทย

อาหารฟาสต์ฟูด ในประเทศไทย

        ปัจจุบันผู้คนในประเทศไทย ใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วน จึงทำให้ส่งผลต่อการรับประทานอาหารที่เร่งรีบ จึงนิยมบริโภคอาหารจานด่วน หรือ Fast Food นั่นเอง โดยธุรกิจอาหารจานด่วน ก็มีมากมายให้เลือกรับประทาน โดยจะนำเสนอธุรกิจที่ได้รับความนิยมภายในประเทศไทย ดังนี้

1. KFC
( ที่มา : https://www.kfc.co.th/1472854690/img/logo_lg.jpg )

ชื่อธุรกิจ (ไทย) : เคเอฟซี
ชื่อธุรกิจ (Eng) : KFC (Kentucky Fried Chicken)
ความเป็นมา : ผู้ริเริ่มเคเอฟซีเป็นครั้งแรกคือ นายฮาแลน แซนเดอร์ส เมื่อประมาณกว่า 40 ปีมาแล้ว เขามีสูตรผสมไก่พิเศษ จากสมุนไพร 11 ชนิด ซึ่งทำให้ไก่ของเขาได้รับความนิยมมาก และมีการขยายสาขาเพิ่มเริ่มขายแฟรนไชส์เมื่อ ปี 2507 จากนั้นได้ขายกิจการต่อ ให้นายจอห์น วาย บราวน์ และนายแจ็ค แมสซี่ ซึ่งทั้งสองคนได้ขายกิจการ ต่อให้กับบริษัทค้าเหล้า และไวน์ชื่อHeublein จากนั้นอีก 15 ปี เคเอฟซี จึงตกทอดมาถึงมือบริษัท เป็ปซี่โค ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์อยู่หลายแบรนด์




2. McDonald’s
(ที่มา : http://theberkshireview.com/wp-content/uploads/2016/01/Mcdonalds_logo.jpg )

            แมคโดนัลด์ เริ่มให้บริการในประเทศไทยในปี พ.ศ.2528 เป็นประเทศที่ 35 ของโลก โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า ปัจจุบัน แมคโดนัลด์ ประเทศไทย พร้อมให้บริการอาหารมาตรฐานระดับโลกใน 227 สาขาทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2559) ซึ่งมีบริการหลากหลายในแต่ละสาขา ทั้งนั่งรับประทานที่ร้าน, บริการ Drive Thru, บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเคาน์เตอร์ของหวานและแมคคาเฟ่ ที่ให้บริการกาแฟในบรรยากาศสบายๆ พร้อมด้วยบริการฟรี WiFi internet นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านผ่านบริการ McDelivery Services ทางโทรศัพท์หมายเลข 1711 ตลอด 24 ชั่วโมง






3.ซับเวย์

( ที่มา : http://www.logodesignlove.com/images/wordmarks/subway-logo-02.jpg )

            บริษัทฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ที่สุดของอเมริกา และใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ด้วยการที่ซับเวย์มีสาขากว่า 23,000 แห่งทั่วโลก ใน 82 ประเทศ
ลักษณะกิจการ : ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด
ชื่อธุรกิจ (ไทย) : ซับเวย์
ชื่อธุรกิจ (Eng) : Subway
ปีที่ก่อตั้ง : พ.ศ. 2546 (ก่อตั้งมา 13 ปี)
ความเป็นมา : ซับเวย์ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอเมริกาและเป็นอันดับ 2 ของโลก เตรียมเจาะตลาดฟาสต์ฟู้ดไทยเพิ่มขึ้น โดยชูความสดใหม่ และการเป็นอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีคุณภาพดีต่อสุขภาพ เน้นกลุ่มวัยทำงาน ครอบครัว ชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยและนักท่องเที่ยว ตั้งเป้าเปิดให้ครบ 140 สาขา ภายในปี 2553
สินค้าและบริการ : ซับเวย์ แฟรนไชส์แซนด์วิช

4. Chester Grill


( ที่มา : https://pbs.twimg.com/profile_images/887226509/LOGO.jpg )

         เชสเตอร์ เป็นที่รู้จักชื่นชอบด้วยเอกลักษณ์ของเมนูไก่ย่าง เลิศรส ความหลากหลายของรายการอาหารที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน รวมถึงความโดดเด่นด้านรสชาติแสนอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน เชสเตอร์ จึงเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด อันดับหนึ่งของคนไทย ที่ครองใจลูกค้าทั่วประเทศเสมอมา
ลักษณะกิจการ : ร้านขายไก่ย่าง
ชื่อธุรกิจ (ไทย) : เชสเตอร์
ชื่อธุรกิจ (Eng) : CHESTER’S
ปีที่ก่อตั้ง : พ.ศ. 2531 (ก่อตั้งมา 28 ปี)
ความเป็นมา : ร้านอาหารเชสเตอร์ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2531 เมื่อเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรของไทย และผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตอาหารมาตรฐานระดับโลก ได้ก่อตั้ง บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ขึ้นด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ อาหารที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค



ที่มาของฟาสต์ฟูด

อาหารฟาสต์ฟูด


       ฟาสต์ฟู้ด(Fast Food) หมายถึง อาหารที่ปรุงไว้แล้ว สามารถเสิร์ฟให้กับลูกค้าได้ในทันที หรือใช้เวลาสั้นมากในการเตรียมก่อนเสิร์ฟ เพราะอาหารเหล่านี้มักถูกเตรียมและปรุงไว้จนสำเร็จรูปหรือเกือบสำเร็จรูปแล้ว เมื่อลูกค้าสั่งก็จะเหลือแค่ขั้นตอนสุดท้าย หรือการอุ่นเท่านั้น ซึ่งก็มักจะใช้เวลาไม่กี่นาที จึงมักเรียกว่า “อาหารจานด่วน” ซึ่งบางชนิดอาจมีสารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารประเภทนี้จำแนกได้ด้วยความเร็วของการเสิร์ฟ จึงไม่เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ในข้าวราดแกง ที่ประกอบด้วย ข้าว(1/4ของจาน) ,เนื้อสัตว์(1/4ของจาน) และ ผัก(1/2ของจาน) ก็เป็นอาหารจานด่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ อย่างไรก็ตาม หากข้าวราดแกงมีแต่ข้าวกับอาหารทอดก็นับเป็นอาหารจานด่วนได้ แต่อาจไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ
         (HealthToday ฉบับที่ 14.มี.ค. 2557 . Fast food VS Junk food.หน้า 48-49)

ประวัติความเป็นมาของอาหารฟาสต์ฟูด
        
       ฟาสต์ฟู้ดเกิดขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I ) ที่การเดินทางทำได้สะดวกรวดเร็วมาก รถยนต์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และเป็นครั้งแรกที่มีการบริการอาหารแบบ Drive-in เมื่อบริษัทอาหารในสหรัฐอเมริกาเริ่มให้บริการแฮมเบอร์เกอร์ชนิดเสิร์ฟเร็วและมีราคาถูกมาก จึงทำให้อาหารฟาสฟู้ดเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การเปิดครัวโล่งให้ลูกค้าเห็นกรรมวิธีการปรุง ซึ่งนับเป็นสิ่งแปลกใหม่ในการบริการอาหารในสมัยนั้นเป็นส่วนเสริมอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อาหารฟาสฟู้ดแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
         ดังที่กล่าวไว้ว่า ลักษณะเด่นของฟาสต์ฟู้ด คือ เป็นอาหารที่ปรุงได้รวดเร็ว หรืออาจปรุงสำเร็จแล้วนำมาอุ่นก่นเสิร์ฟเท่านั้น หรือที่เรียกว่า “ on the go” จึงมักสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีช้อน ส้อม มีด หรืออุปกรณ์ใดๆ ฟาสต์ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานที่มีเวลาจำกัด และต้องการความเร็ว บางชนิดราคาแพง แต่ส่วนใหญ่ไม่แพงมาก เพราะต้องการให้บริการกับผู้บริโภคที่อยู่ในช่วงวัยเรียน และวัยทำงานเป็นหลัก
     ตัวอย่างเช่น แซนด์วิช แฮมเบอเกอร์ ไก่ทอด เฟรนช์ฟราย หอมทอด พิซซ่า ฮอทดอก และ สลัด
     (HealthToday ฉบับที่ 14.มี.ค. 2557 . Fast food VS Junk food.หน้า 48-49)

    





 
ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=Wp28nUWfs_o







ที่มาของข้อมูล   https://sites.google.com/site/fastfoodinlife/home/fast-food/tawxyang-xa-har-fast-fud-fast-food