ประโยชน์และโทษของอาหารฟาสต์ฟู้ด
ประโยชน์ของอาหารฟาสต์ฟูด (Fast Food)
1. ช่วยประหยัดเวลา แน่นอนว่าเวลารีบ ๆ ฟาสต์ฟู้ดถือเป็นตัวเลือกอันดับแรก ๆ ของใครหลาย ๆ คน เพราะสะดวกทันใจแถมยังอร่อยสุด ๆ เหมาะกับการใช้ชีวิตที่รีบร้อนของสังคมสมัยนี้ เพราะแบบนี้หลายคนจึงเต็มใจจะโทรสั่งแฮมเบอร์เกอร์หรือพิซซ่ามานั่งกินไปทำงานไปที่โต๊ะกันเยอะแยะ
2. เลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบ จุดเด่นของฟาสต์ฟู้ดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่เลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบนี่แหละ เช่น ถ้าคุณทำพิซซ่าทานเอง คุณอยากจะใส่เครื่องอะไรโรยหน้าก็ได้ตามใจชอบ ยิ่งไปกว่านั้น เดี๋ยวนี้ต่อให้ไม่ทำอาหารเองที่บ้าน บางร้านก็มีบริการให้คุณเลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบเช่นกัน
3. แบบที่มีประโยชน์กับร่างกายก็มีเช่นกัน จากการที่ทุกวันนี้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ก็เลยทำให้ร้านต่าง ๆ หันมาเพิ่มตัวเลือกในการทานฟาสต์ฟู้ดแบบเพื่อสุขภาพคอยเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย ซึ่งถ้าใครอยากดูแลตัวเองและอร่อยกับฟาสต์ฟู้ดด้วยในเวลาเดียวกัน ก็ควรเปลี่ยนมาเลือกใส่เครื่องปรุงที่ดีมีประโยชน์กับร่างกายของคุณมากขึ้น เช่น ใช้ขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาวจะดีกว่า
4. ราคาประหยัด อาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าพวกอาหารทั่วไปอยู่แล้ว (บางประเภท) เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับคนที่ต้องการจะเก็บเงินเป็นพิเศษ และเพราะแบบนี้เองร้านฟาสต์ฟูดถึงมีคนต่อคิวอยู่เสมอเพื่อให้ได้กินอาหารที่ทั้งอร่อยทั้งประหยัด
ปัจจุบันสภาวะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา ประกอบกับการมีค่านิยมในการบริโภคอาหารแบบตะวันตก เช่น พิซซ่า แซนด์วิช มันฝรั่งทอด ไก่ทอด เป็นต้น จึงทำให้ได้รับไขมันจากสัตว์ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง(อาณัติ วินิทร, 2555: 33) เนื่องจาก Fast food เป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เบอร์เกอร์ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฮอทดอก พิซซ่า โดนัท น้ำอัดลม ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ที่ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้วยแป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือ ไม่ค่อยมีวิตามิน และใยอาหาร ซึ่งส่วนประกอบในอาหาร Fast food นี่แหละที่ส่งผลกับร่างกายเรา
•ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) : อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด มักจะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เนื่องจากว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูกนั่นเอง แถมยังสามารถทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดีอีกด้วย การทานอาหาร Fast food เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ากินบ่อยเกินไปอาจมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย
• เกลือ (Salt;Sodium) : โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยใน 1 วัน แต่อาหารประเภท Fast food จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมใสสัดส่วนที่สูงมาก. ถ้ารับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มิลลิกรัม
• น้ำตาล (Sugar) : น้ำอัดลม ลูกอม โดนัท จะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราบริโภคเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน
• คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) : เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายก็จริง แต่หากเรากินเข้าไปมากเกินความต้องการใน 1 มื้อ ส่วนที่เหลือใช้ก็จะเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วโรคอ้วนก็จะถามหา คราวนี้เราก็รู้แล้วว่าทำไมอาหาร Fast food จึงไม่ให้ประโยชน์แถมบางทีจะก่อโทษกับร่างกายเราด้วยซ้ำ
โรคที่เกิดจากการกิน Fast food
-โรคอ้วน
ภาพที่12 (ที่มา : https://woranoot.files.wordpress.com/2015/02/108_20131116175841.jpg)
(อาณัติ วินิทร, 2555: 166) กล่าวถึงโรคอ้วนว่า เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้มีการสะสมของไขมันภายในร่างกายเกินความจำเป็น คนที่เป็นโรคอ้วนอาจมีอาการอื่นๆจามมา เช่น สภาพจิตใจไม่ปกติ ความต้านทานโรคต่ำ ติดโรคง่าย เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และใครจะไปรู้ภายในเรือนร่างที่ฉาบทาด้วยความอุดมสมบูรณ์ ตามความคิดผู้ที่ไม่รู้ แต่โรคผู้มีอันจะกินนี้มักจะรวบรวมพรรคพวกไว้มากมาย ล้วนแต่โรคเด็ดๆทั้งนั้น เช่น
1. ไขมันในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติของระบบอื่นๆโดยเฉพาะเมื่อเจ้าเม็ดไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดยิ่งหน้ามากขึ้นๆถนนของเจ้าเลือดก็จะเดินไม่สะดวกตามไป ก็เลือดต้องไปเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกายและเราก็ขาดเลือดไม่ได้ แน่นอนจะมีปัญหาต่อสุขภาพตามมาอีกมากมาย ทั้งโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ มึนงงบ่อยๆเป็นลม เมื่อเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่ดี เซลล์ก็เสื่อมโทรมลง อนุมูลอิสระก็เกิดเร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้แก่เร็ว
2. ความดันโลหิตสูง เมื่อไขมันเคลือบผนังหลอดเลือดบางจุดอาจตีบมากขึ้น หัวใจมีหน้าที่เหมือนปั๊มน้ำ ก็ต้องขับดันเลือดวิ่งไปให้ทั่วร่างกายทุกซอกทุกมุม เมื่อบางจุดโดนบีบให้แคบแต่ร่างกายต้องการเลือด มันอาจออกแรงผลักดันเลือด อาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ถึงแก่ชีวิตหรือพิการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
3.โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศอุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หัวใจทำงานเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหัวใจวาย
4. โรคข้อกระดูกเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้าเนื่องจากต้องรับน้ำหยักตัวที่มากขึ้น บางคนที่อ้วนมากๆอาจจะยืนหรือเดินไม่ได้เลย เพราะข้อเท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ คนอ้วนมากๆจะเดินก็ลำบาก โยกเยกซ้ายขวา เดินไปเหนื่อยหอบไป
6. โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ชอบนั่งหรือนอน ปอดจึงขยายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจ บางครั้งถึงกับมีภาวะกายหายใจลดลง หายใจติดขัด ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด เหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา อาจพบภาวะอารมณ์เศร้าหมองร่วมไปด้วย
7. โรคมะเร็งบางชนิด คนอ้วนมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆรวมทั้งโรคมะเร็งได้
8. โรคนิ่วในถุงน้ำดี และไนมันแทรกในตับ เมื่อมีไขมันมากการทำงานของตับก็ลดลง เพราะไขมันเข้าไปแทรกอยู่ จนทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น